โครงงานวิทยาศาสตร์



ประกาศผล

          การประกวดโครงงานในวันที่ 24-25 ก.ย. กำหนดให้มีการประกวด  ณ  คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา  ยกเว้น  ในกรณีที่มีสถานการณ์ฉุกเฉินเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของ COVID-19  อาจปรับเป็นการประกวดแบบออนไลน์  ขอให้ผู้ผ่านการคัดเลือก ติดตามข่าวประกาศที่เว็บไซต์กิจกรรม http://sci.buu.ac.th/sciweek

ส่งไฟล์ยืนยันการเข้าร่วมการประกวดโครงงาน | แบบยืนยันการเข้าร่วม.doc | รายงานฉบับสมบูรณ์

   ระดับ ม.ต้น               | สาขากายภาพ | สาขาชีวภาพ | สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์
   ระดับ ม.ปลาย            | สาขากายภาพ | สาขาชีวภาพ | สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์

  • เมื่อ upload เรียบร้อย จะมีเมล์อัตโนมัติตอบกลับไปยังที่อยู่อีเมล์ที่ให้ไว้ (หากไม่พบ กรุณาตรวจสอบที่ Junk mail)
  • หาก upload ผิดสาขา ขอให้ upload ใหม่
  • ศูนย์ฯ จะตรวจสอบความถูกต้อง และ update สถานะในเวลา 10.00 น. ของวันที่ 17-19 กันยายน 2563

ข้อกำหนดของคลิปการนำเสนอ
    - ชื่อคลิป : รหัสโครงงาน-โรงเรียน เช่น ต-ก99-ม.บูรพา
    - ความยาวไม่เกิน 4 นาที
    - อัตราส่วน 16:9
    - ความละเอียด 768x480p
    - สามารถตัดต่อได้เฉพาะกรณีพูดผิดได้เท่านั้น

เนื้อหา ประกอบด้วย
    - การแนะนำตัวผู้เข้าประกวด
    - ความสำคัญของโครงงาน
    - วัตถุประสงค์
    - วิธีการดำเนินงานโดยย่อ
    - ผลการทดลอง
    - ภาพแผงโครงงานวิทยาศาสตร์
    - ภาพชิ้นงาน หรือตัวอย่างทดลอง (ถ้ามี)

ตัวอย่างคลิปนำเสนอโครงงาน
    https://youtu.be/SI6GvMvvypc

ประกาศผลการคัดเลือกโครงงานวิทยาศาสตร์ (รอบคัดเลือก)

 

 1. หลักการและเหตุผล
    วิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า องค์ความรู้วิทยาศาสตร์ที่แข็งแกร่งจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการแพทย์ อันจะส่งผลต่อความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ ประเทศในกลุ่มที่พัฒนาแล้วจะให้ความสำคัญต่อการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก พร้อมทั้งปลูกฝังให้ประชากรของชาติเห็นความสำคัญและมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนับตั้งแต่เยาว์วัย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ พิจารณาเห็นว่ากิจกรรมการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมหนึ่งที่สนับสนุน ส่งเสริม และกระตุ้นให้เยาวชนของชาติได้ฝึกการใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้เป็นอย่างดี สมาคมวิทยาศาสตร์ฯ จึงจัดให้มีการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมเยาวชนให้ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการแก้ปัญหาและใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันต่อไป

2. วัตถุประสงค์
    2.1 เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนของชาติได้ศึกษาค้นคว้า มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และฝึกใช้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหา
    2.2 เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนของชาติคิดค้นผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์  อีกทั้งมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    2.3 เพื่อให้เยาวชนที่มีความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นกัน
    2.4 เพื่อสนองนโยบายของชาติในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

3. เป้าหมาย
    3.1 ด้านปริมาณ
    นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายทั่วประเทศ  ส่งโครงงานเข้าร่วมประกวดในระดับภูมิภาค ซึ่งจัดดำเนินการโดยศูนย์ภูมิภาคทั้งหมด 6 ศูนย์ ทั่วประเทศ

    3.2 ด้านคุณภาพ
    นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้ทักษะ  กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ  และเห็นคุณค่าของวิทยาศาสตร์ที่มีผลต่อการดำรงชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น

4. ประเภทของโครงงาน
    4.1 โครงงานที่ส่งประกวด ต้องเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์และ/หรือเทคโนโลยี  ซึ่งอาจเป็นโครงงานที่เกี่ยวกับการทดลอง การสำรวจข้อมูล งานพิสูจน์ทฤษฎี หรือ ชิ้นงานที่ประดิษฐ์ขึ้น

    4.2 ประเภทของโครงงาน ในทั้ง 2 ระดับ (มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย) แบ่งเป็น 3 สาขา
         4.2.1 สาขากายภาพ หมายถึง โครงงานที่ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ได้แก่ เคมี วัสดุศาสตร์ ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ดาราศาสตร์ ธรณีวิทยา และ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ ตัวอย่างเช่น การสกัดด้วยกระบวนการทางเคมี การปรับปรุงวัสดุด้วยกระบวนการทางเคมี การสร้างสมการคณิตศาสตร์จากการศึกษาธรรมชาติ ฯลฯ
         4.2.2 สาขาชีวภาพ หมายถึง โครงงานที่ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ได้แก่ ชีววิทยา สัตววิทยา พฤกษศาสตร์ จุลชีววิทยา ชีวเคมี และ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมด้านชีวภาพ  ตัวอย่างเช่น การศึกษาระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพ การย่อยสลายด้วยเอนไซม์ การศึกษาด้านยีน และโปรตีนฯลฯ
         4.2.3 สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ หมายถึง โครงงานที่ใช้บูรณาการวิทยาศาสตร์หลายสาขา ซึ่งแสดงได้ด้วยชิ้นงานที่ประดิษฐ์ขึ้น หรือข้อมูลการทดลอง ได้แก่ โครงงานวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมด้านการจัดการ ด้านพลังงาน โครงงานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ อาหารและสุขภาพ ปัญญาประดิษฐ์ และวิทยาการหุ่นยนต์ เป็นต้น

5. การสมัคร
    5.1 ระดับของนักเรียนผู้มีสิทธิ์ส่งโครงงาน
         5.1.1 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
         5.1.2 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

    5.2 จำนวนนักเรียนและอาจารย์ที่ปรึกษา จำนวนนักเรียนในแต่ละโครงงาน มีได้ไม่เกิน 3 คน อาจารย์ที่ปรึกษา 1 คน และอาจารย์ที่ปรึกษาพิเศษ (ถ้ามี) สามารถมีได้มากกว่า 1 คน

6. กำหนดการรับสมัคร

1-31 ส.ค.63

ศูนย์ภาคแจ้งเรื่องเชิญชวนส่งใบสมัครและข้อเสนอโครงงาน

31 ส.ค.63

ก่อนเวลา  23.50  น.

หมดเขตรับสมัครข้อเสนอโครงงาน และอัพโหลดไฟล์ข้อเสนอโครงงาน 

เข้าระบบรับสมัครของสมาคม

** ช่องทางออนไลน์ที่ http://sci.buu.ac.th/sciweek/ **

1 ก.ย.63

ก่อนเวลา  16.00  น.

หมดเขตอัพโหลดใบสมัคร  บทคัดย่อ  และข้อเสนอโครงงาน 

เข้า Google Drive  ของคณะวิทยาศาสตร์ฯ

** ช่องทางออนไลน์ที่ http://sci.buu.ac.th/sciweek/ **

11 ก.ย.63

ประกาศผลการคัดเลือก

11-18  ก.ย.63

ผู้ผ่านการคัดเลือกส่งเอกสาร ดังนี้

- แบบยืนยันการเข้าร่วมประกวด

- รูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์

- คลิปนำเสนอ ความยาวไม่เกิน 4 นาที

** ช่องทางออนไลน์ที่ http://sci.buu.ac.th/sciweek/ **

24 ก.ย.63*

การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

25 ก.ย.63*

การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

 

 
...
...
...
...

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

169 ถ.ลงหาดลางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131
Phone: (038) 103011
Email: scibuu.pr@gmail.com

สอบถามเพิ่มเติม

>> ฝ่ายการประกวด/ แข่งขัน 
    0-3810-3157 กด 1
>> ฝ่ายประชาสัมพันธ์
    0-3810-3010
>> ฝ่ายประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
    0-3810-2222 ต่อ 7549 
>> Email: sciday.buu@gmail.com

Line@

เพิ่มเพื่อน

Facebook Like