1. กติกา ข้อกำหนดของการประกวด 1.1. ประเภทการประกวด สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาเท่านั้น เป็นการแข่งขันประเภททีม ทีมละ 3 คน 1.2. กำหนดการประกวด วันพุธที่ 14 สิงหาคม 2562 หลังเสร็จพิธีเปิด ณ ห้องประชุม CL-101 ชั้น 1 อาคารปฏิบัติการพื้นฐานและศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ 1.3. การสมัคร 1.3.1. คุณสมบัติผู้เข้าร่วมการแข่งขัน - เป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 - สมัครเป็นทีมๆ ละ 3 คน 1.3.2. จำนวนที่รับสมัคร ส่งผลงานได้โรงเรียนละ ไม่เกิน 3 ชิ้น 1.3.3. สถานที่ติดต่อสอบถาม ฝ่ายเสริมสร้างการเรียนรู้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เบอร์โทรศัพท์ 0 3810 3157 1.3.4. วิธีการสมัคร (1) สมัครเข้าร่วมการประกวดทางเว็บไซต์ http://www.scisoc.or.th/sciweek/ (2) โดยเมื่อสมัครเสร็จสิ้นแล้ว ทางโรงเรียนจะต้องส่งใบสมัครที่พิมพ์ออกจากระบบ พร้อมให้นักเรียนที่สมัครและหัวหน้าสถานศึกษาลงนามให้สมบูรณ์ มายังฝ่ายประสานงานการประกวด/ แข่งขัน ผ่านช่องทางต่อไปนี้ 1) สแกนเอกสารส่งอีเมลมายัง scsabuu@gmail.com 2) ส่งโทรสารมาที่หมายเลข 0 3839 3496 (3) จัดเตรียมรายละเอียดของสิ่งประดิษฐ์ (ยังไม่ต้องส่งชิ้นงานจริง) เช่น ชื่อสิ่งประดิษฐ์ ส่วนประกอบ การทำงาน การใช้ประโยชน์ ฯลฯ ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์นั้น ๆ พอเป็นสังเขป พร้อมทั้งส่งภาพถ่ายหรือแบบรูป หรือภาพร่างให้เห็นรูปร่าง ทรวดทรง สัดส่วน เพียงพอที่จะเป็นข้อมูลให้คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกได้ ภายในวันที่ 5 สิงหาคม 2562 หากพ้นกาหนดดังกล่าวจะถือว่าสละสิทธิ์ในการเข้าร่วมประกวด 1.3.5. วิธีการส่งเอกสารรายละเอียดของผลงานสิ่งประดิษฐ์ - ส่งด้วยตนเอง ที่ฝ่ายเสริมสร้างการเรียนรู้ ห้อง SD-119 ชั้น 1 อาคารสิรินธร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา - ทางไปรษณีย์ (วงเล็บมุมซองว่า ส่งเอกสารรายละเอียดสิ่งประดิษฐ์ฯ) ทั้งนี้คณะกรรมการจะถือวันประทับตราไปรษณีย์เป็นสำคัญ 1.4. ข้อกำหนดและเงื่อนไขการส่งผลงาน 1.4.1. เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมของนักเรียนระดับประถมศึกษา 1.4.2. เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 1.4.3. ไม่จำกัดประเภทผลงานสิ่งประดิษฐ์ 1.4.4. แต่ละโรงเรียนส่งผลงานได้ไม่เกิน 3 ชิ้น 1.5. วิธีการแข่งขัน แบ่งการประกวดเป็น 2 รอบ 1.5.1. รอบคัดเลือก ภายหลังการแจ้งความจำนงเข้าร่วมประกวดสิ่งประดิษฐ์แล้ว ทีมผู้เข้าแข่งขันต้องจัดส่งเอกสารรายละเอียดของผลงานสิ่งประดิษฐ์ฉบับสมบูรณ์ (ยังไม่ต้องส่งชิ้นงานจริง) มายังคณะกรรมการพิจารณารอบคัดเลือก ที่คณะวิทยาศาสตร์ฯของศูนย์ภาคที่จัดกิจกรรม ภายในกาหนดเวลา และคณะกรรมการจะคัดเลือกสิ่งประดิษฐ์ที่มีคะแนนประเมินตามเกณฑ์เข้าสู่การพิจารณาในรอบตัดสิน 1.5.2. รอบตัดสิน คณะกรรมการพิจารณาจากชิ้นงานสิ่งประดิษฐ์ และเอกสารรายละเอียดผลงานสิ่งประดิษฐ์ฉบับสมบูรณ์ การจัดแสดง การนำเสนอและตอบข้อซักถาม แล้วพิจารณาตัดสินสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับรางวัลที่ 1 2 3 และรางวัลชมเชย 2 รางวัล 1.6. คณะกรรมการตัดสิน คณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ของศูนย์การจัดกิจกรรม และกรรมการร่วมจากภายนอกมหาวิทยาลัย โดยผลการตัดสินของกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
2. เกณฑ์การตัดสิน พิจารณาจากผลงานและสัมภาษณ์นักเรียนตามเกณฑ์ดังนี้ 2.1. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 2.2. ความเหมาะสมในการเลือกใช้วัสดุ (หาง่าย ประหยัด คุ้มค่า และราคาถูก) 2.3. เทคนิคการผลิต (ขนาด องค์ประกอบ ความชัดเจน ความสวยงาม ความคงทน ความสอดคล้องของภาพและเสียง) 2.4. ประโยชน์ของผลผลิต
3. รางวัลสำหรับผู้ชนะ ระดับประถมศึกษา ทีมที่ชนะการแข่งขัน จะได้รับรางวัลดังนี้ รางวัลที่ 1 ได้รับเงินรางวัล 4,000 บาท พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ รางวัลที่ 2 ได้รับเงินรางวัล 3,000 บาท พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ รางวัลที่ 3 ได้รับเงินรางวัล 2,000 บาท พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ รางวัลชมเชย มี 2 รางวัล จะได้รับของที่ระลึก พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ
หมายเหตุ นักเรียนที่เข้าร่วมแข่งขันและอาจารย์ที่ปรึกษา จะได้รับเกียรติบัตรการเข้าร่วม (โดยยึดข้อมูลจากระบบการรับสมัครของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และหนังสือขอเปลี่ยนตัวที่ได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนตัวแล้วเท่านั้น ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มชื่อนักเรียนที่เข้าแข่งขัน/ อาจารย์ที่ปรึกษา ในวันจัดงาน)
|