เข้าศึกษาต่อคณะวิทยาศาสตร์

หลักสูตรการศึกษา

 

 

ทุนการศึกษา
ระดับปริญญาตรี   ระดับบัณฑิตศึกษา

 

แนะนำภาควิชา เรียน-จบ ทำอะไร?

 

ภาควิชาคณิตศาสตร์ Department of Mathermatics   ภาควิชาเคมี Department of Chemistry

ภาควิชาคณิตศาสตร์ เปิดสอนระดับปริญญาตรีใน 2 หลักสูตร ได้แก่ วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างนักคณิตศาสตร์ที่มีความรู้ ความสามารถ และ วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสถิติ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างสถิติที่มีความรู้ความสามารถทางด้านการวิเคราะห์และวิจัยเชิงสถิติ โดยทั้งสองหลักสูตรนั้น ต้องการที่จะตอบสนองต่อแนวนโยบายการพัฒนาประเทศ และให้สามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม และประกอบอาชีพอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม

 

แนวทางการประกอบอาชีพ

นักวิจัย นักวิชาการในหน่วยงานของรัฐและเอกชน ครู อาจารย์ในสถาบันการศึกษาทั้งในส่วนของรัฐและเอกชน ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก นักคณิตศาสตร์ นักวิเคราะห์การเงินในบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ธนาคาร นักวางแผนการผลิตในโรงงานต่างๆ ประกอบอาชีพอิสระ นักวิชาการทางสถิติ นักวิเคราะห์ข้อมูล เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพ เจ้าหน้าที่วางแผนการผลิต เจ้าหน้าที่จัดซื้อ ผู้ช่วยนักวิจัย โปรแกรมเมอร์

ภาควิชาเคมี เปิดสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตรโดยมีจุดเด่นในรายวิชาในหลักสูตร คือ มีความหลากหลายและปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยอยู่เสมอ แต่ละรายวิชามีรูปแบบการสอนแตกต่างกันขึ้นกับเนื้อหาของแต่ละรายวิชา เพื่อมั่นใจว่าบัณฑิตที่จบจากภาควิชานี้ มีความรอบรู้และความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์เคมีทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ตลอดจนสามารถนำไปใช้กับการทำงานในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

แนวทางการประกอบอาชีพ

สามารถเข้าไปทำงานในหน่วยงานของรัฐ เช่น นักวิจัย ผู้ช่วยวิจัย ครู อาจารย์ หน่วยงานเอกชน เช่น หน่วยวิจัยและพัฒนา หน่วยตรวจสอบและควบคุมคุณภาพต่างๆ หรือเลือกเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น ทั้งในสาขาวิทยาศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้องมากมาย นอกจากนี้ยังมีโอกาสทำงานในสำนักงานพิสูจน์หลักฐานอีกด้วย

 

ภาควิชาจุลชีววิทยา Department of Microbiology   ภาควิชาชีวเคมี Department of Biochemistry

ภาควิชาจุลชีววิทยา เปิดสอนในระดับปริญญาตรี ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาจุลชีววิทยา โดยจุดเด่นของรายวิชาในหลักสูตร คือ มีรายวิชาที่ครอบคลุมหลายสาขา ทั้งจุลชีววิทยาทั่วไปและจุลชีววิทยาประยุกต์ มีการปรับปรุงเนื้อหาของรายวิชาให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เน้นการปฏิบัติ ทำให้นิสิตมีทักษะการปฏิบัติที่ดี อีกทั้งยังมีรายวิชาที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานและการศึกษาต่อของบัณฑิต เช่น โครงงานทางจุลชีววิทยา ที่สอนให้นิสิตได้เรียนรู้ระเบียบวิธีวิจัยและฝึกฝนทักษะปฏิบัติที่ถูกต้อง

 

แนวทางการประกอบอาชีพ

บัณฑิตที่จบจุลชีววิทยานั้นเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน และมีงานให้เลือกทำในหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน เช่น สำนักงานพิสูจน์หลักฐาน ในโรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ และมีโอกาสในการศึกษาต่อได้หลากหลายสาขา

ภาควิชาชีวเคมี เปิดสอนระดับปริญญาตรี ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาชีวเคมี โดยมีปรัชญาที่จะสร้างนักวิทยาศาสตร์ที่มีความรู้ความสามารถ เพื่อสนองต่อแนวนโยบายการพัฒนาประเทศด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะในสาขาชีวเคมี โดยมีจุดเด่นของรายวิชาในหลักสูตรคือ นิสิตจะได้เรียนรายวิชาชีวเคมีและหลากหลายวิชาเลือก ซึ่งเมื่อจบแล้วทำให้สามารถเลือกเรียนต่อได้หลากหลายสาขาวิชาและประกอบอาชีพได้หลากหลายเช่นกัน

 

แนวทางการประกอบอาชีพ

- นักวิทยาศาสตร์ ในหน่วยงานราชการและเอกชน
- ผู้ช่วยนักวิจัย หรือนักวิจัย
- อาจารย์หรือนักวิจัยในสถาบันการศึกษา
- อาชีพตามความถนัดหรือความสามารถ

 

ภาควิชาชีววิทยา Department of Biology   ภาควิชาฟิสิกส์ Department of Physics

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาชีววิทยา เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี มีการจัดการศึกษาระบบทวิภาค คือ มีทั้งภาคปกติและภาคพิเศษ โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพในระดับมาตรฐาน มีความรับผิดชอบ มีความรู้ความสามารถทางด้านวิชาการ ทักษะอาชีพ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในการดำรงชีวิตและพัฒนาสังคม เพื่อสนองตอบความต้องการของวงการอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน หลักสูตรแบ่งวิชาเอกบังคับเลือก ออกเป็น 3 สาย คือ สัตวศาสตร์ พฤษศาสตร์ และชีววิทยาทั่วไป ซึ่งนิสิตสามารถเลือกเรียนได้ตามความถนัด

 

แนวทางการประกอบอาชีพ

นักวิช่าการ นักวิจัย นักพันธุวิศวกรรม นักวิเคราะห์คุณภาพในโรงงานอุตสาหกรรม บุคลากรในสถานศึกษาต่างๆ และสามารถประกอบอาชีพอิสระได้ ตลอดจนเปิดโอกาสในการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท-เอก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ภาควิชาฟิสิกส์ เปิดสอนระดับปริญญาตรี ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาฟิสิกส์ และสาขาฟิสิกส์ประยุกต์ โดยจุดเด่นของรายวิชาในหลักสูตรคือ เน้นการฝึกฝนทักษะการวิเคราะห์ การคิดเชิงระบบความเป็นผู้นำ การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล การทำงานเป็นทีม การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง และความรับผิดชอบ

 

แนวทางการประกอบอาชีพ

สามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอก ในสาขาฟิสิกส์และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น ด้านนาโนเทคโนโลยี ด้านวัสดุศาสตร์ ด้านนิวเคลียร์ ด้านดาราศาสตร์ หรือด้านวิศวกรรมต่างๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศได้ นอกจากนี้ยังสามารถประกอบอาชีพเป็นอาจารย์และนักวิจัยในสถาบันต่างๆ ทั้งของรัฐและเอกชน สามารถประกอบอาชีพในบริษัทเอกชนหรือโรงงานอุตสาหกรรม ในตำแหน่งต่างๆ เบ่น R&D, QA, QC, lab technician นอกจากนี้ยังสามารถประกอบอาชีพในสาขาอื่นๆ เช่น เศรษฐศาสตร์, บริหาร หรือแม้กระทั่งประกอบธุรกิจส่วนตัว

 

ภาควิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร Department of Food Science   ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ Department of Biotechnology

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร เป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์สาขาหนึ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของอาหาร เพื่อการแปรรูป/ เปลี่ยนวัตถุดิบอาหารให้เป็นผลิตภัณฑ์อาหาร ซึ่งในการแปรรูปต้องใช้กระบวนการทางเทคโนโลยีทำให้ได้ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีปริมาณมาก รวมทั้งให้คุณภาพเป็นไปตามแนวทางของระบบการประกันคุณภาพในอุตสาหกรรมอาหาร

 

แนวทางการประกอบอาชีพ

ทำงานในตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์การอาหาร หรือ นักเทคโนโลยีอาหาร โดยทำงานเกี่ยวข้องกับกระบวนการและเทคนิคที่ใช้ในกระบวนการแปรรูป การถนอมอาหารและการควบคุมคุณภาพของอาหาร ตลอดจนถึงการพัฒนาและวิจัยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ เมื่อเรียนจบสามารถเข้าทำงานในหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐ เช่น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารหและยา (อย.) สถาบันอาหาร สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรมอาหารทุกประเภท โดยอยู่ในฝ่ายต่างๆ เช่น ฝ่ายผลิตและวางแผน ฝ่ายประกันคุณภาพ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริษัท ห้างร้านที่จำหน่ายอุปกรณ์/ สารเคมี/ วัตถุผสมอาหาร โดยอยู่ในตำแหน่ง ตัวแทนฝ่ายขายหรือเจ้าหน้าที่เทคนิค เป็นต้น

ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ เปิดสอนระดับปริญญาตรี ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ โดยมีจุดเด่นของรายวิชาในหลักสูตร คือ บูรณาการความรู้จากหลายศาสตร์ สามารถเลือกเรียนได้ตามความถนัดของนิสิต เน้นการปฏิบัติการและฝึกงาน ปูพื้นฐานเพื่อการศึกษาต่อขั้นสูง และรองรับภาคอุตสาหกรรม การเกษตร การวิจัย และการประกอบธุรกิจส่วนตัว

 

แนวทางการประกอบอาชีพ

อุตสาหกรรมและธุรกิจทางชีวภาพ: การพ้ฒนา ผลิต หรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางอาหาร ยา อุตสาหกรรมการเกษตร การแพทย์ พลังงานชีวภาพ หรือพลาสติกชีวภาพ การควบคุมมลพิษและสิ่งแวดล้อม: โรงงานอุตสาหกรรมภาครัฐและเอกชน ธุรกิจส่วนตัว: อาหารหมัก เกษตรยั่งยืน และอุตสาหกรรมในครัวเรือน การศึกษาต่อหรือการทำวิจัย: วิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาตร์สิ่งแวดล้อม นิติวิทยาศาสตร์ อณูชีววิทยา เทคโนโลยีชีวภาพ วิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิษวกรรมโรงงาน วิศวกรรมอุตสาหการ ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู

 

ภาควิชาวาริชศาสตร์ Department of Aquatic Science   สอบถามเพิ่มเติม

ภาควิชาวาริชศาสตร์ เปิดสอนระดับปริญญาตรี ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวาริชศาสตร์ โดยมีจุดเด่นของรายวิชาในหลักสูตรคือ มุ่งเน้นให้นิสิตมีความรู้ในด้านการใช้ การจัดการ และการอนุรักษ์ทรัพยากรในแหล่งน้ำ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ระบบนิเวศน์ สมุทรศาสตร์และการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมทางน้ำ

 

แนวทางการประกอบอาชีพ

งานราชการ เช่น นักวิจัย/ นักวิชาการกรมกรมประมง กรมเจ้าท่า สำนักงานสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข กรมอุตุนิยมวิทยา กรมอุทกศาสตร์ ครู/ อาจารย์สถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนสาขาวิชาประมง ชีววิทยา สัตว์วิทยา งานเอกชน เช่น เครือเจริญโภคภัณฑ์ โรงงานอาหารกระป๋องและแช่เยือกแข็ง บริษัทส่งออกสัตว์น้ำสวยงาม นักวิชาการในห้องปฏิบัติการ ฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือกิจการส่วนตัว

0 3810 3051 งานวิชาการ(ดูแลเรื่องการเรียนการสอน หลักสูตรต่างๆ ในระดับปริญญาตรี)
0 3810 3157 งานกิจการนิสิตและศิษย์เก่าสัมพันธ์ (ดูแลเรื่องกิจกรรมนิสิต ทุนการศึกษา วินัยนิสิต)
0 3810 2531 กองกิจการนิสิต (หอพัก)
0 3810 2533 กองกิจการนิสิต (กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.))