การชี้แจงและแนะนำการใช้ประโยชน์ วัสดุประดิษฐ์ Artificial Mussel สำหรับเฝ้าระวังการปนเปื้อนโลหะหนักตามแนวชายฝั่งทะเล

การชี้แจงและแนะนำการใช้ประโยชน์ วัสดุประดิษฐ์ Artificial Mussel สำหรับเฝ้าระวังการปนเปื้อนโลหะหนักตามแนวชายฝั่งทะเล

      ด้วยคณะวิทยาศาสตร์ ได้รับทุนวิจัยเรื่อง “การปนเปื้อนของโลหะหนักตามแนวชายฝั่งทะเล ภาคตะวันออกเพื่อประเมินแหล่งน้ำทะเลและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน (สนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) ประจำปี ๒๕๖๐ โดยมี ผศ.ดร.ปภาศิริ บาร์เนท สังกัดภาควิชาวาริชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย และร่วมมือกับเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี โดยใช้พื้นที่ชายฝั่งบริเวณเขาสามมุก-แหลมแท่น-หาดบางแสน-หาดวอนนภา เป็นพื้นที่นำร่องในการเฝ้าระวังการปนเปื้อนสารโลหะหนักในน้ำทะเล ด้วยเทคนิค Artificial Mussels ซึ่งได้มีการชี้แจงและแนะนำการใช้ประโยชน์ วัสดุประดิษฐ์ Artificial Mussel (AM) สำหรับเฝ้าระวังการปนเปื้อนโลหะหนักตามแนวชายฝั่งทะเล เพื่อการติดตามและเฝ้าระวังการปนเปื้อนโลหะหนักในสิ่งแวดล้อมทางทะเลชายฝั่งภาคตะวันออกของจังหวัดชลบุรีให้กับผู้เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย สมาชิกกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งชายทะเลบางแสน เทศบาลเมืองแสนสุข สำนักงานสิ่งแวดล้อมจังหวัดชลบุรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๐ ณ อาคารชุมชนหาดวอนนภา โดยมี ผศ.ดร.ปภาศิริ บาร์เนท และทีมผู้วิจัย เป็นวิทยากร และได้รับเกียรติจาก คุณณรงค์ชัย  คุณปลื้ม นายกเทศมนตรีเมืองแสนสุข เป็นประธานกล่าวเปิด รศ.ดร.สุนันทา โอศิริ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย ดร.เสาวภา สวัสดิ์พีระ ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล และ ผศ.ดร.เอกรัฐ ศรีสุข คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ กล่าวถึงบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานในพื้นที่ต่อมีส่วนร่วมกับชุมชน ซึ่งในการชี้แจงและแนะนำในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมให้ความสนใจในการสาธิตและแนะนำวัสดุประดิษฐ์ฯ เป็นอย่างมาก 

ภาพกิจกรรม ]




 

 

ข่าวประชาสัมพันธ์

 [-] 

ประเภทข่าว
 ข่าววิจัย/ นวัตกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวอบรม/ สัมมนา
ข่าวทั่วไป
 ข่าวภาควิชา
การศึกษา
วิชาการ
บริการวิชาการ